ข้อมูลจาก facebook ธนาคารไทยพาณิชย์
บางคนอาจใช้ขีดเส้นขนาน แล้วเขียนข้อความ / เซ็นรับรอง
วันนี้ เอาวิธีเซ็นชื่อรับรองสำเนาที่ถูกต้อง มาแบ่งปันให้คุณรู้ไว้จะได้ไม่เป็นหนี้ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ประมาทไม่ได้เลยล่ะ เพราะหาก
เซ็นไม่ถูกวิธีแม้เพียงนิดเดียว คุณอาจตกเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัวจากผู้ที่ไม่ประสงค์ดีที่นำเอาเอกสารสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน
หรือสำเนาเอกสารสำคัญอื่นๆ จากการเซ็นรับรองของเราไปทำประโยชน์ส่วนตน แต่สร้างหนี้ที่ไม่ได้ก่อให้กับเรา ดังนั้นจึงขอแนะนำว่า...
ทุกครั้งหากต้องเซ็นเอกสารรับรองสำเนาอย่าลืม ...จำ...และทำตามขั้นตอนต่อไปนี้นะคะ...
1) ทุกครั้งหลังจากเซ็นชื่อ และเขียนรับรองสำเนาถูกต้องแล้ว ต้องเขียนรายละเอียดกำกับไว้ด้วยว่า..เอกสารฉบับนั้นใช้สำหรับ
ทำอะไร เช่น "ใช้เฉพาะสมัครงานเท่านั้น"
2) นอกจากกำกับรายละเอียดการใช้แล้ว ยังต้องกำกับ วัน/เดือน/ปี เขียนลงบนสำเนาที่ใช้ด้วยนะค่ะ ซึ่งนั่นจะช่วยกำหนดอายุ
การใช้งานสำเนาของเราได้
3) ต้องเขียนข้อความทั้งหมดทับลงบนสำเนาส่วนที่เป็นบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาเอกสารอื่นๆ ที่สำคัญ
ทั้งสามข้อคือวิธีเซ็นที่ถูกต้องในการรับรองสำเนาอย่างรัดกุม ไม่เปิดช่องทาง ให้กับมิจฉาชีพ เอาไปสร้างหนี้ให้กับเรา ต่อไปนี้
ต้องระวัง เพราะคุณอาจเป็นรายต่อไป ที่จู่ๆก็มี หนี้ตามมาเคาะประตูถึงบ้าน รู้อย่างนี้แล้วก็อย่าลืมทำตามล่ะ
4) ในกรณี ที่เซ็นเอกสาร ต้องใช้ปากกาหมึกสีดำเท่านั้น ถึงจะปลอดภัยที่สุด เพราะเครื่องถ่ายเอกสาร บางเครื่อง สามารถถ่าย
เอกสารโดยดึงหมึกสีน้ำเงินออก เหลือใช้เฉพาะข้อความของบัตรประชาชน แล้วทำให้มิจฉาชีพ เซ็นเอกสารบัตรประชาชนนั้น แทนเรา
ได้เลย ****เพราะฉะนั้นเราควรเซ็นด้วย ปากกาสีดำเท่านั้น เพราะไม่สามารถดึงหมึกสีดำออกได้ หรือถ้าดึงสีดำออกได้ข้อความก็จะ
หายไปหมดเลยทั้งหน้าบัตรประชาชนค่ะ
อย่าลืม ต้องใช้ปากกากหมึกดำเท่านั้น...จึงจะปลอดภัยที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก kapook.com
ขอบคุณรูปภาพจาก flickr.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น