ข้อมูลนี้เป็นของคุณ ko7vasan
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=ko7vasan&month=12-2008&date=12&group=8&gblog=1
ประเภทของสี นอกจากจะมีหลายชนิดแล้วยังมีอีกหลายโนฮาวน์ มาจากหลายทิศหลายทางซึ่งจะมีเทคนิคแตกต่างกันบ้างแล้วแต่แหล่งที่มา ของสารเคมี ที่นำเข้า มาเป็นส่วนผสมการผสมสีเช่น สีจากสายญี่ปุ่น ไทโดโน่, VSV, ไทโยเพ้นท์ก็จะแตกต่าง จากสีจากอัคโซ่, วิลเลียม, หรือไมโรโทน ที่มาจากฝาหรั่ง( โอ๊ยโหย เฉพาะทางเกินไปปล่าวเนี่ย เอาว่า เป็นแบรนด์สีแล้วกันครับ )แต่................ถึงแม้ จะมีที่มาที่ไปต่างกัน ก็มิใช่แตกต่างโดยสิ้นเชิงขั้นตอน, กรรมวิธี, วัสดุส่วนใหญ่ ยังคงมีทักษะการใช้งานเหมือนกันถ้างั้น เรามาลองดู ขั้นตอนการทำสี ตามที่ผมทำอยู่แล้วกันนะครับ
ขั้นตอนที่ 1. เตรียมไม้ให้พร้อม สำหรับทำสีโดยการขัดไม้ดิบ ด้วยกระดาษทราย เบอร์ #120เพื่อลบร่องรอยตำหนิของไม้ ที่เกิดจากการขึ้นรูปและขัดตัดเสี้ยนหยาบของไม้เบื้องต้นออก(แนะนำว่า เมื่อขัดเสร็จแล้ว ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 4 ชม. ก่อนทำสีมิฉะนั้น เสี้ยนไม้ที่ขัดตัดออกไปหมดแล้ว จะเกิดขึ้นมาใหม่อีกเนื่องจาก ความชื้นในอากาศ สัมผัสไม้ดิบ ทำให้เสี้ยนฟูขึ้นมาอีกครั้ง)
ขั้นตอนที่ 2 ลงสีย้อม ในลักษณะการลงลูกประคบ(สีย้อม ที่ผมเรียก คือ สีที่ผสมพิคท์เมนท์ได้โทนสีตามต้องการแล้ว สามารถใช้งานพ่นได้แบ่งนำมาผสมแป้งลงไป เพื่อให้ได้น้ำสีเพิ่มขึ้นทำให้ประหยัดลง, ช่วยปรับสีไม้ใกล้เคียงสีจริง และช่วยถมเสี้ยน ให้เต็มเร็วขึ้นซึ่งเพื่อนๆ อาจจะใช้สีย้อมสำเร็จ ที่มีขายตามท้องตลาด มาแทนก็ได้ครับ)โดยใช้แปรงจุ่มสีย้อมทาลง ใช้ผ้าขาวเช็ดตามซึ่งขั้นตอนนี้ เราจะตรวจสอบตำหนิไม้ด้วยว่ายังหลงเหลือจากการขัดเก็บหรือไม่
ขั้นตอนที่ 3 หลังจากสีย้อมแห้ง พ่นซิลเลอร์ทับ(ส่วนนี้แหละครับ พ่นเพื่อกันยางไม้ไม่ให้ขึ้นมาทำปฏิกริยา กะสีทับหน้า ที่ทำให้สีเปลี่ยนไป เมื่อใช้งานนานๆ )
ขั้นตอนที่ 4 หลังจากซิลเลอร์แห้งให้ใช้กระดาษทราย เบอร์ #240 ขัดผิวบางๆ
ขั้นตอนที่ 5 พ่นสีจริง ปรับสีให้เข้มขึ้น(ปกติ สีจริง ที่นำมาพ่น ควรจะถูกแต่งโทนสี ให้อ่อนกว่าสีที่ต้องการเพื่อจะช่วยในขั้นตอนการพ่น ที่สามารถค่อยๆ ปรับเฉดขึ้นได้)
ขั้นตอนที่ 6 ขัดผิวด้วยกระดาษทราย เบอร์ #240ก่อนพ่นสีจริงซ้ำ โดยสลับขั้นตอนไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้โทนสี ตามต้องการครับ
ขั้นตอนสุดท้าย เมื่อได้โทนสีตามต้องการแล้วใช้กระดาษทราย เบอร์ #400 ขัดผิวก่อนจะพ่นด้วยสีใส (เนื้อสีล้วนๆ ที่ไม่ได้มีการผสมแม่สี) ตามประเภทสีที่ใช้เช่น ....ถ้าสีจริงผสมแลคเกอร์ ก็นำแลคเกอร์มาใช้ซึ่งขั้นตอนพ่นสีขั้นสุดท้ายนี่ จะเป็นตัวกำหนดความเงา-ด้าน ของสีที่ต้องการ ว่าต้องการให้เป็นเนื้อเงา ขนาดไฮกรอสหรือเป็นเนื้อด้าน แบบงานแอนทิคครับ
เอาล่ะครับ อันนี้ คือ ขั้นตอนการทำสีโดยรวมซึ่งอาจจะมีบางที่, บางแห่ง หรือบางท่าน อาจจะคุ้นเคยขั้นตอน ที่ผิดแปลกไปจากนี้บ้างดังเช่น ขั้นตอนในส่วนของการขัดไม้ดิบ ก่อนทำสีเคยมีผู้รู้ท่านนึง แย้งผมมาว่า ปกติ จะจบด้วยการใช้กระดาษทราย เบอร์ #240มิฉนั้น เวลาทำสี ยังจะเห็นรอยกระดาษทรายอยู่ถ้างั้นก็ หมายความว่า การใช้กระดาษทราย เบอร์ #120ตามที่ผมแนะนำไว้ เป็นสิ่งที่ผิดงั้นหรือ คำตอบ คือ "ไม่ผิด"ถ้าการใช้เบอร์ #120 ไม่ผิด ก็แสดงว่า เบอร์ #240 ผิดน่ะสิก็ "ไม่ผิด" อีกเช่นกัน( เอ๊ะ ไอ้_า กวนประสาทน่าดู )อย่าเพิ่งงง หรือด่าผมในใจนะครับที่ผมบอกไม่ผิด ทั้ง 2 อย่างเหตุเพราะว่า เทคนิคในการทำงาน ของแต่ละคน อาจจะมีแตกต่างกันบ้างในมุมมอง ของผู้รู้ท่านนั้น เห็นว่าเบอร์ #120 อาจจะมีรอยกระดาษทรายขวางเสี้ยนอยู่แต่สำหรับผม เบอร์ #120 เม็ดทรายละเอียดกว่าเกรนเนื้อโดยธรรมชาติ ของไม้เบญจพรรณที่เรานิยม มาใช้ในงานเฟอร์อยู่แล้ว เน้นวิธีขัด ให้ตามเสี้ยนดีกว่าใช้เบอร์ละเอียด ขัดไม่ดี กลายเป็นเสียดสีเนื้อไม้เกิดความร้อน เป็นมันบางจุด สีจะซึมเข้ายากกว่าตำแหน่งอื่นเพราะอย่างไร ผมมีขั้นตอน ให้ไปตรวจสอบตอนย้อมสีอีกทีอยู่แล้ว มีเสริมตัวช่วยสุดท้ายเพิ่มไว้นิดหน่อยแล้วกันในกรณี ที่ทำสีขั้นสุดท้ายแล้ว ปรากฏว่าผิวหน้าสีที่ เราทำเสร็จแล้ว มีความสากเพราะ มีเม็ดฝุ่นละอองตกลงไป ระหว่างรอสีแห้งไม่ว่าจะเป็นละอองสี หรือละอองสิ่งสกปรกยังไม่ต้องตกใจนะครับ ให้ลองนำกระดาษทราย ที่ตกเรี่ยราดตามพื้นนั่นแหละครับ( ต้องมีแหละ คงไม่ทำงานไป เก็บไปหรอกน่า )พวกเบอร์ #240 หรือ #400 ยิ่งผ่านการใช้งานมาแล้ว อย่างโชกโชนยิ่งดีให้ใช้ด้านหลัง ที่เป็นกระดาษ ( เน้นด้านหลัง ที่เป็นกระดาษนะครับ ไม่ใช่ด้านที่เป็นเม็ดทราย )นำมาลูบเบาๆ วนบนพื้นผิวดูถ้าละอองฝุ่น ไม่ใหญ่มาก ผิวพื้นสี จะหายสากครับโดยที่ไม่ต้องทำสีใหม่อีกครั้ง
ขอขอบคุณ คุณ ko7vasan
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=ko7vasan&month=12-2008&date=12&group=8&gblog=1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น